สยามกีฬา

สยามกีฬา
สยามกีฬา

กรณีศึกษา สยามกีฬา หรือ สยามสปอร์ต

สยามกีฬา โดย ลงทุนแมนจากบริษัทที่เคยมีมูลค่า (Market Cap.) 1,100 ล้านบาทเมื่อ 5 ปีที่แล้ว
มาตอนนี้บริษัทเหลือมูลค่าเพียง 92 ล้านบาท
อนาคตของบริษัทนี้จะเป็นอย่างไร?

สตาร์ซอคเก้อร์ ถ้าพูดชื่อนี้ ทุกคนที่ชื่นชอบฟุตบอลจะรู้จักเป็นอย่างดี

หนังสือพิมพ์ขนาด กะทัดรัด ที่แฟนฟุตบอลชอบอ่าน
พิมพ์โดยสยามสปอร์ตซึ่งก่อตั้งโดยคุณระวิ โหลทอง

คุณระวิ โหลทอง เป็นใคร?

ในอดีต คุณระวิ เคยทำงานเป็นนักข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมาก่อน

แต่เขาตัดสินใจลาออกเพื่อมาทำธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์

เองสมัยก่อน แหล่งข้อมูลในการติดตามฟุตบอลต่างประเทศของคนไทยยังค่อนข้างจำกัด

แม้มีการนำเสนอข่าวสารฟุตบอลในหนังสือพิมพ์ แต่ก็เป็นเพียงกรอบเล็กๆ หรือเป็นเพียงรายงานผลการแข่งขันทางวิทยุเท่านั้น

อย่างกรณีฟุตบอลโลกนั้น แม้จะเริ่มเตะกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 แต่กว่าที่คนไทยจะได้ติดตามฟุตบอลโลกอย่างจริงจัง คือปี พ.ศ. 2513 ที่ประเทศเม็กซิโก

ช่วงนั้นกระแสของฟุตบอล รายการนี้ดังมากจนทำให้ หนังสือพิมพ์อย่างไทยรัฐและเดลินิวส์ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และนี่คือ ฟุตบอล โลกครั้งแรกที่ คนไทยได้ดูการถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์อีกด้วย

สิ่งนี้นับเป็นจุด เปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้เกิดความนิยม ในฟุตบอลต่างประเทศ นับแต่นั้นเป็นต้นมา

เมื่อเรื่องเป็นแบบนี้ ทางคุณระวิ จึงตัดสินใจลาออกจากไทยรัฐในปี พ.ศ. 2516 เพื่อมาทำธุรกิจหนังสือพิมพ์กีฬาของตัวเองภายใต้ชื่อ หจก.สยามสปอร์ต

ช่วงนั้นมีแต่คนบอกว่าเขาบ้า ออกไปทำเองมีแต่จะขาดทุน เพราะกลุ่มคนที่สนใจข่าวสารด้านฟุตบอลคงมีจำนวนไม่มาก

แต่ปัจจุบัน สยามสปอร์ตมีหนังสือพิมพ์รายวันรวม 7 ฉบับและนิตยสารด้านกีฬาและบันเทิงอีกกว่า 20 ฉบับ

ทำให้เขากลายมาเป็นเจ้าของอาณาจักรสื่อกีฬาที่ใหญ่สุดในประเทศไทย รวมทั้งยังมีธุรกิจทีวีกีฬา, ธุรกิจรายการวิทยุ, ธุรกิจดิจิทัลมีเดีย และธุรกิจอีเวนต์

แต่นิตยสารที่เชื่อว่าหลายคนคุ้นเคยโดยเฉพาะแฟนบอลนั่นคือ นิตยสารสตาร์ซอคเกอร์ รายสัปดาห์และนิตยสารสตาร์ซอคเกอร์รายวัน

ซึ่งทั้ง 2 ฉบับนี้ได้สร้างกระแสฟุตบอลต่างประเทศขึ้นในประเทศไทยอย่างมาก

ปี พ.ศ. 2518 นิตยสารสตาร์ซอคเกอร์ รายสัปดาห์ ได้เริ่มออกขายและนี่ถือเป็นหนึ่งในนิตยสารที่ได้รับความนิยมสูงสุดของไทยในสมัยนั้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 บริษัท ได้ออกนิตยสารสตาร์ ซอคเกอร์รายวัน โดยมีราคาขายครั้งแรกอยู่ที่เล่มละ 5 บาท จนมาถึงปัจจุบันอยู่ที่เล่มละ 20 บาท

ปัจจุบัน รายได้ของสยามสปอร์ตมาจาก 3 กลุ่มธุรกิจคือ
1.รายได้จากการขายสิ่งพิมพ์
2.รายได้ค่าโฆษณา
3.รายได้อื่น

สำหรับธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์นั้น สินค้าของบริษัทจะแบ่งเป็นสื่อด้านกีฬาและสื่อบันเทิง โดยส่วนแบ่งการตลาดของสื่อด้านกีฬานั้นมากกว่า 90% เนื่องจากสื่อสิ่งพิมพ์ด้านกีฬาของไทยยังมีน้อย

ขณะที่สื่อบันเทิงมีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 70% เนื่องจากปัจจุบัน นิตยสารด้านบันเทิงหลายฉบับได้ปิดตัวลงไป

ที่น่าสนใจคือ เว็บไซต์ของบริษัท (www.siamsport.com) แม้จะเป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลด้านกีฬาเป็นหลัก แต่ก็ได้รับการจัดลำดับเป็น 1 ใน 10 ของเว็บไซต์ที่มีคนเข้ามาเยี่ยมชมมากที่สุดในบรรดาเว็บไซต์ทั้งหมดในประเทศไทย

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เราคิดว่าบริษัทนี้ต้องทำกำไรได้มากในยุคปัจจุบัน

ความจริงแล้ว อาจจะไม่เป็นแบบนั้น..

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีคนอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลง เพราะสามารถติดตามอ่านข้อมูลข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์และสื่อออนไลน์

ทำให้รายได้ค่าโฆษณาของบริษัทลดลง จนบริษัทขาดทุนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

เราลองมาดูจำนวนเงินค่าโฆษณาของอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์และนิตยสาร รวมทั้งผลประกอบการของบริษัทในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

จำนวนเงินค่าโฆษณาของอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์และนิตยสาร

ปี 2559 สื่อสิ่งพิมพ์ 14,077 ล้านบาท นิตยสาร 3,206 ล้านบาท
ปี 2560 สื่อสิ่งพิมพ์ 11,336 ล้านบาท นิตยสาร 2,142 ล้านบาท

รายได้และกำไรของบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
ปี 2559 รายได้ 1,105 ล้านบาท ขาดทุน 358 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 1,133 ล้านบาท ขาดทุน 200 ล้านบาท

แน่นอนว่าเรื่องนี้กระทบกับภาพรวมของทั้งอุตสาหกรรม ทำให้บริษัทสื่อต่างๆ ต้องปรับตัว ปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ บางแห่งได้รับผลกระทบมากจนถึงขนาดต้องลดจำนวนพนักงาน

สำหรับบริษัท สยามสปอร์ต ในงบการเงินไตรมาสล่าสุด มีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ และจำเป็นต้องเพิ่มทุนเพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนกิจการจากบริษัทที่เคยมีมูลค่า (Market Cap.) 1,100 ล้านบาทเมื่อ 5 ปีที่แล้วมาตอนนี้บริษัทเหลือมูลค่าเพียง 92 ล้านบาท..แล้ว อนาคตของบริษัทนี้จะเป็นอย่างไร? เพิ่มเติม PG SLOT pgslot356 สนุกดอทคอม

Content by:

ข้อมูลอัพเดทล่าสุด : 27 ธันวาคม 2021 (ล่าสุดปี 2020)